ไฟเซอร์ที่เอามาฉีดให้เด็กอายุ 5-11 ปียังอยู่ระหว่างการทดลอง

Adithep Chawla • 13 มีนาคม 2565

ยาฉีดไฟเซอร์ที่เอามาฉีดให้เด็กอายุ 5-11 ปียังอยู่ระหว่างการทดลองไม่สามารถกันการติดเชื้อได้ไม่มีข้อมูลว่ากัน MIS-C ได้

โดย นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง | ติดตาม อาจารย์อรรถพล: https://rookon.com/dr_atapol

จากที่มีการระดมออกมา ชักชวนให้เด็กอายุ ๕-๑๑ ปี ต้องเข้ารับการฉีดยานั้น ผู้ที่ออกมาสนับสนุนมาตรการดังกล่าว อ้างว่ายาฉีดเหล่านั้นจะสามารถป้องกันมิให้เด็กติดเชื้อ ป้องกันมิให้เด็กมีอาการป่วยรุนแรง ป้องกัน MIS-C ได้ โดยมิได้ศึกษางานวิจัยที่ทางบริษัทไฟเซอร์ทำเพื่อขอการรับรองจาก FDA ให้ละเอียดบทความนี้จึงต้องการให้ข้อมูลกับผู้ปกครองว่า ยาที่ฉีดนั้น ๑.อยู่ระหว่างการทดลอง ๒.ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ๓.ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนัก ไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ ๔.ไม่สามารถป้องกัน MIS-C ได้ โดยมีข้อมูลอ้างอิงเป็นงานวิจัยของไฟเซอร์และข้อมูลจาก FDA เอง 

๑.ยานี้ยังอยู่ระหว่างการทดลอง

จากเว็บไซด์ของ FDA เอง ดังที่ปรากฏในรูปด้านล่าง เขาเขียนชัดเจนว่า งานวิจัยเพื่อศึกษาความปลอดภัยนี้ทำในเด็ก 3,100 ราย ซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะในการทดลองจริงๆนั้นศึกษาในเด็กเพียง 1,517 รายตามรายละเอียดในรายงานการวิจัยของไฟเซอร์เอง ตรงไปตรงมาการศึกษาความปลอดภัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยแค่นี้ย่อมไม่สามารถศึกษาผลกระทบรุนแรงที่เกิดขึ้นยากได้ แต่ที่สำคัญมิใช่ที่จำนวนเท่านั้นครับเขาระบุชัดเจนว่า “in the ongoing study” แปลว่า ยังอยู่ระหว่างการวิจัย

1 ขอให้ไปอ่านในบทความ “ยาฉีดไฟเซอร์ โมเดิร์นนา ไม่ใช่วัคซีน” ถึงเหตุผลที่เราไม่ควรเรียกยาเหล่านี้ว่าวัคซีน

2 https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/fda-authorizes-pfizer-biontech-covid-19-vaccine-emergency-use-children-5-through-11-years-age

3 https://www.nejm.org/doi/full/+555-555-1234/NEJMoa+555-555-1234


รูปที่1 

และถ้าเข้าไปอ่านในรายงานการวิจัยจะพบว่า งานวิจัยนี้ ลงทะเบียนไว้ในรหัสงานวิจัย NCT+555-555-1234 ตามรูปที่ 2


รูปที่ 2 รหัสโครงการวิจัยที่ใช้อ้างอิง

และถ้าเราคลิกเข้าไปอ่านในเว็บไซด์นั้นจะได้ข้อมูลตามรูปที่ 3 ครับ ระบุชัดว่า เป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดย ไบโอเอนเทค BioNTech ร่วมมือกับ ไฟเซอร์ Pfizer หน่วยงานที่ให้ข้อมูลก็คือ บริษัทที่ผลิตยานี้ BioNTech SE เอง


รูปที่ 3 บริษัทที่ทำงานวิจัยนี้

4 https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT+555-555-1234

ทีนี้ขอให้ดูตรง study details รายละเอียดการวิจัยตามรูปที่ 4 จะเห็นชัดเจนว่า งานวิจัยนี้จะสิ้นสุดวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2026 (พ.ศ.2569) ใช่ครับ อีกตั้ง 4 ปี ตอนนี้ “อยู่ระหว่างการวิจัย” เขาต้องการกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 11,422 ราย แต่ตอนนี้มีแค่ สองพันกว่าราย และตอนนี้กำลังรับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัยเพิ่ม ดูตรง recruitment status “Recruiting” และพึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ไม่ถึงปีเลย 

ที่น่าสนใจงานวิจัยนี้เป็นแบบ open label ซึ่งมี bias มากคนทำวิจัยรู้ว่าอาสาสมัครคนไหนได้รับ หรือ ไม่ได้รับยาทดลอง ปกติงานวิจัยที่ดีต้องเป็นแบบปิด double blind placebo control ทั้งผู้วิจัยและอาสาสมัครไม่รู้ว่าใครได้วัคซีน ใครได้ยาหลอกจนกว่างานวิจัยจะเสร็จสิ้น


รูปที่ 4 รายละเอียดของงานวิจัย

แค่นี้น่าจะพอใช่ไหมครับที่บอกว่า เอาเด็กมาทดลอง แต่ลองดูต่อครับถ้าเข้าไปที่ result ตามรูปที่ 5 ผลการวิจัย จะเห็นชัดเจนว่า วิจัยนี้จะสิ้นสุดเดือน พฤษภาคม 2569 แต่ถ้าดูที่เอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์ จะเห็นชักเจนว่า คือ เอกสารวิชาการที่บริษัทใช้ไปขอการรับรองจาก FDA ทั้งที่งานวิจัยยังไม่เสร็จ


รูปที่ 5 ผลการวิจัย

แค่หัวข้อแรกก็ชัดเจนครับว่า ยาที่เอามาฉีดเด็กๆนั้น ยังอยู่ระหว่างการทดลอง แต่ไปดูหัวข้อที่สองต่อครับ ยาฉีดที่ว่าไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อโควิด

๒.ยาฉีดไฟเซอร์ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้ออย่างที่เอามาโฆษณากัน 

ถ้าดูในข่าวที่ออกโดย FDA จะเห็นว่าในนั้นอ้างว่า ยาตัวนี้มีประสิทธิภาพ 90.7% แต่ถ้าหากว่าเข้าไปอ่านงานวิจัยที่ใช้อ้างอิงจะพบว่า ในงานวิจัยนั้นมิได้สุ่มตรวจหาเชื้อในอาสาสมัครทุกรายอย่างเป็นระบบแต่ใช้วิธีว่า รอให้อาสาสมัครมีอาการค่อยทำการตรวจหาเชื้อแปลว่า ถ้าหากอาสาสมัครมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการก็จะไม่มีทางรู้ได้ว่าเขาเหล่านั้นติดเชื้อหรือไม่ ทั้งนี้สิ่งที่ควรจะทำในงานวิจัยเพื่อบอกว่า ยานี้ป้องกันการติดเชื้อหรือไม่นั้น คือ การตรวจหาเชื้อในอาสาสมัคร ทุกรายเป็นประจำทุกสัปดาห์ ไม่ว่าอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ตาม รายละเอียดที่ทีมวิจัยทำสามารถอ่านได้ในเอกสาร supplement 

5https://www.nejm.org/doi/suppl/+555-555-1234/NEJMoa+555-555-1234/suppl_file/nejmoa+555-555-1234_appendix.pdf


รูปที่ 6 คำอ้างของ FDA ว่ายาฉีดมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด–๑๙

เมื่อดูที่มาของคำอ้างจะพบข้อมูลนี้ในงานวิจัย Evaluation of the BNT162b2 Covid-19 Vaccine in Children 5 to 11 Years of Ageเมื่ออ่านประสิทธิภาพของยา ตรงหัวข้อ phase 2-3 efficacy ตามรูป 7 


 จะเห็นว่าในกลุ่มได้รับยาเป็นโควิดแบบมีอาการ 3 ราย ในกลุ่มยาหลอก มีอาการ 16 ราย หรือ ในกลุ่มยาไฟเซอร์ติดโควิดแล้วมีอาการคิดเป็น +555-555-1234%) เทียบกับ +555-555-1234%) จะได้ค่า ARR เพียง 1.8% ที่สำคัญ ไม่มีเด็กรายไหนที่มีอาการรุนแรง ไม่มีเด็กที่มีอาการ MIS-C ไม่มีเด็กที่เสียชีวิต จากงานวิจัยนี้ จึงสรุปได้เพียงว่า การฉีดยาไฟเซอร์สามารถลดอาการหวัดลงได้ 1.8% โดยไม่สามารถระบุได้ว่า ยาตัวนี้ป้องกันการติดเชื้อ ได้ อนึ่งมีความพยายามที่จะใช้ข้อมูลระดับ แอนตี้บอดี้มาอ้าง ทั้งที่ระดับแอนตี้บอดี้ที่สูงไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเชื้อกลายพันธุ์

๓.ยาฉีดไฟเซอร์ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนักไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้

อย่างที่แสดงให้เห็นในหัวข้อก่อนหน้าว่างานวิจัยที่ บริษัทยานำมาใช้อ้างอิงนั้น ไม่พบความแตกต่างในอัตราการเกิดโรครุนแรง อัตราการเสียชีวิต ระหว่างกลุ่มที่ได้ยาฉีดไฟเซอร์ กับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถอ้างได้ว่า ยาฉีดนี้สามารถป้องกันการป่วยหนัก การเสียชีวิตในเด็กกลุ่มนี้ได้ ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า อัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตในเด็กกลุ่มนี้ต่ำมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปกติที่แข็งแรงดี การฉีดยาที่อยู่ระหว่างการทดลองในเด็กกลุ่มนี้จึงไม่มีความจำเป็นเลย

๔.ยาฉีดไฟเซอร์ไม่สามารถป้องกัน MIS-C ได้

MIS-C multisystem inflammatory syndrome-children หรือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบอวัยวะในเด็ก เป็นสิ่งที่พบได้ในเด็กที่ติดโควิด อยางไรก็ดีภาวะนี้พบได้น้อยมาก ประมาณ 1 ในเด็กที่เป็นโควิด 200,000 ราย และสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามมีความพยายามที่จะนำภาวะนี้มาสร้างความตื่นตระหนกในผู้ปกครอง และให้ข้อมูลที่บิดเบือนว่า ยาฉีดไฟเซอร์สามารถป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้ ตามรายละเอียดที่ระบุในข้อ ๒ จะเห็นว่า ไม่พบภาวะนี้ ทั้งในกลุ่มที่ได้ยาฉีดไฟเซอร์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ซึ่งทำให้บริษัทยา ไม่สามารถอ้างได้ว่า ยานี้สามารถป้องกันภาวะ MIS-C ได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีรายงานที่พบว่า ยาฉีดไฟเซอร์ ทำให้เกิดภาวะ MIS ได้ทั้งในเด็ก (MIS-C) และผู้ใหญ่ (MIS-A)’ 

6 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC+555-555-1234/

7 https://wwwnc.cdc.gov/eid/article/+555-555-1234_article

8 https://casereports.bmj.com/content/14/7/e+555-555-1234.long


ที่น่าสนใจคือ มีการศึกษาในเด็กที่มีภาวะ MIS-C พบว่ามีระดับแอนตี้บอดี้ IgG ในระดับที่สูงกว่าเด็กที่ไม่มีอาการ MIS-C ซึ่งช่วยสนับสนุนว่า ภาวะนี้อาจเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผิดปกติที่มีมากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะอักเสบทั่วร่างกาย โดยในการรักษาภาวะดังกล่าวมีการนำยากดภูมิ อาทิ สเตียรอยด์มาใช้ในการรักษาด้วย ยิ่งเป็นการยืนยันว่าภาวะนี้ มีภูมิคุ้มกันที่ “สูง” มากผิดปกติ จากข้อมูลในงานวิจัยของบริษัทที่ระบุว่า ยาฉีดไฟเซอร์ กระตุ้นให้ระดับภูมิคุ้มกันชนิด IgG สูงขึ้นจึงอาจเป็นเหตุให้ยาฉีดนี้ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่า ยาฉีดที่ยังอยู่ระหว่างการทดลองนี้สามารถลดอัตราการเกิดภาวะ MIS-C ในเด็กได้

9https://publications.aap.org/pediatrics/article/146/6/e+555-555-1234/Quantitative-SARS-CoV-2-Serology-in-Children-With



โดย thaipithaksith 15 สิงหาคม 2567
สภากาแฟเวทีชาวบ้าน 14-08-67
โดย thaipithaksith 30 พฤษภาคม 2567
สภากาแฟเวทีชาวบ้าน 30-05-67
โดย Thiravat Hemachudha 27 พฤษภาคม 2567
การแก้ไข IHR และ Pandemic Treaty (Agreement) กฏหมายที่มีผลผูกพัน ข้อตกลงที่ลิดรอนเสรีภาพ เมื่อใดปรากฎ ภาวะผันผวน ทางธรรมชาติและเชื่อมโยงไปถึงการ ผันแปร เชื้อโรคการแพร่ระบาด องค์การอนามัยโลก (WHO) จะกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ ในกรอบเดียวกัน ทั่วโลก ตั้งแต่การปิดประเทศ ห้ามการเคลื่อนย้าย มาตรการการรักษา การใช้ยา การใช้วัคซีน และที่สำคัญคือ การระบุเด็ดขาดการกระทำใดๆ ที่ผิดเพี้ยน การใช้การรักษาด้วยสมุนไพรหรือยาที่หมดสิทธิบัตรแต่พิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาโรคได้ จะถูกระบุ ว่าเป็น “เท็จ” โดยมีหน่วยงานคอยตรวจสอบติดตามเป็นเรียลไทม์ในสื่อทุกชนิดและการสื่อสารทั่วโลก และทำการดิสเครดิต ผ่านจากองค์การมายังทุกประเทศ โดยที่จะมีการควบคุมสื่อ มี สำนักงาน นานาชาติ และในประเทศไทย ที่เห็นได้ชัดในหลายรายการที่เป็นกระบอกเสียง และ นักวิชาการที่ปฏิบัติตามทั้งนี้ โดยอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน และมีบทความทางวิชาการในวารสารทางการแพทย์ที่ระบุว่าเป็นการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพ โดยในเวลาที่ผ่านมา สืบค้นพบว่า มีการตัดข้อมูลที่ให้ผลลบต่อผลิตภัณฑ์นั้น ทำให้ดูเสมือนว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมมากถึง 92% เป็นต้นในกรณีของวัคซีน และแม้มี รายงานทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์คัดค้าน จะถูกปิดกั้นไม่ให้ลงตีพิมพ์หรือถอดถอนออกในเวลาต่อมา แต่ความจริงเปิดเผยในปี 2024 ในเรื่องต่างๆเหล่านี้ องค์การต่างๆ เหล่านี้ ตามข้อมูลที่เปิดเผยจากสื่อ ตามพระราชบัญญัติความโปร่งใสของข้อมูล ได้รับทุนสนับสนุนการทำงานจากบริษัทยาและผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องด้วยและในระดับรายบุคคล และถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่กระบวนการต่างๆจะเป็นไปในทางที่ไม่เป็น กลาง ที่เห็นได้ชัด คือการสืบค้นหาต้นตอของโควิด ขององค์การ กลับประกอบด้วยบุคคล ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการสร้างไวรัสใหม่ การให้ทุนข้ามชาติจากประเทศตะวันตกมายังสถาบันวิจัยไวรัส และองค์กรต่างๆรวมทั้งในประเทศไทย และสิงคโปร์ และอู๋ฮั่น จนกระทั่งมีการตัดสินในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ถึงหน่วยงานกลาง EcoHealth alliance ที่เป็นตัวผ่านเงิน จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐไปยังประเทศต่างๆ และผู้บงการกลับเป็น DoD DARPA DTRA BTRA หัวหน้า NIH NIAID ผ่านมาทาง CDC USAID ถ้าสนธิสัญญานี้เกิดขึ้น ชะตากรรมของประเทศภาคีทั้งโลก จะถูกแทรกแซงอธิปไตย เพื่อให้องค์การ มีอำนาจพลักดันเบ็ดเสร็จ ในภาวะที่ระบุเป็น pandemic emergency อาทิ บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ภาวะใดจึงจะให้สัญญาณบ่งชี้ถึงภัยคุกคาม การตรวจวินิจฉัยต้องใช้วิธีใด จึงจะได้มาตรฐาน วัคซีนชนิดใด ยาชนิดอะไร การรักษาต้องเป็นแบบใด จะรักษากี่วัน และอื่นๆ โดยที่ องค์การอนามัยโลก โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเองเบ็ดเสร็จ และไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดผลร้ายในภายหลังใดๆทั้งสิ้น โดยทั้งหมดนี้จะระบุในสนธิสัญญา หนังสือเดินทางวัคซีน (Vaccine Passport) เป็นตัวอย่างที่สำคัญที่เกิดขึ้นแล้ว และเป็นการบังคับให้ต้องฉีดวัคซีนซ้ำซาก ในขณะที่ประชาชนเป็นจำนวนมากสำเหนียก ถึงผลกระทบที่ตนเองได้รับในวัคซีน แล้วแต่ยังต้องถูกบังคับให้ฉีดใหม่ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเดินทางไปนอกประเทศได้ และในที่สุดประสบผลกระทบซึ่งกลายเป็นความพิการระยะยาว ในสนธิสัญญาจะมีการอัพเกรดให้มี ใบรับรองดิจิทัล (Global Digital Health Certificate) ในการติดตามประวัติทางการแพทย์ของ มนุษย์ และยังให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐ (ทั้งรัฐบาลประเทศของแต่ละบุคคลและรัฐต่างประเทศ)ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่การแยกตัว กักตัว ไปจนถึงการ 'บังคับ' ฉีดวัคซีน ทุกแง่มุมของชีวิตเราจะต้องอยู่ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว คือโครงการ CGIP clinical genomic integration platform โดยมีการควบรวมประวัติทางการแพทย์ของคนป่วยทั้งที่เข้าโรงพยาบาลและในพื้นที่ศึกษาที่ประกอบด้วยอาการการตรวจทางเอกซเรย์ทางห้องปฏิบัติการพื้นที่ของการเกิดโรค อาชีพประวัติการศึกษา เศรษฐกิจฐานะ ตัวเชื้อและสายพันธุ์ของเชื้อการรักษาใดได้ผลหรือไม่ได้ผลและลงประมวลข้อมูลในระบบ PACS และส่งตรงไปยังสหรัฐ เพื่อในการวางแผนผลิตยาและเวชภัณฑ์ โดยที่แท้จริงแล้วเป็นการละเมิดความมั่นคงของ ประเทศไทย ที่สุดคือการผลักดันให้มีการสอดแนมและการเซ็นเซอร์จากทั่วโลก ภายใต้หน้ากากของการต่อสู้กับข้อมูลที่ไม่ตรงกับ WHO และ จะถูกประทับตรา เป็น เฟกนิวส์ WHO กำลังให้รัฐบาลทั่วโลกเซ็นตกลง ปิดข้อมูลที่ไม่ตรงกับ WHO และเซ็นเซอร์ข้อมูลใดๆ ที่ขัดแย้งกับเรื่องเล่าของทางการ การปราบปรามเสรีภาพในการพูด โดยจะมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ได้ยิน นั่นก็คือเสียงของ WHO ที่เกิดมาตลอดคือ เบื้องหลัง เครือข่ายแล็บชีวภาพลึกลับ ที่กำลัง ถูกสร้าง จัดตั้งขึ้น ทั่วโลก ในการรวบรวมเชื้อโรคจำนวนมหาศาลอย่างเงียบๆ และทำการทดลองทก่อให้เกิดหายนะสำหรับมนุษยชาติ ไปแล้ว นั่นคือ โควิด และตัวต่อไปคือไข้หวัดนก อีโบลา โควิด นิปาห์ โดยเน้นให้มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมและให้มีการติดต่อทางอากาศได้ ถ้าเราไม่ลุกขึ้น บอกต่อให้คนไทยทุกคน รู้ทัน ทางเราเองและลูกหลานจะไม่มีที่พึ่ง สื่อส่วนใหญ่จะทำอะไรไม่ได้ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นทาสมัน หรือเป็น ไท? หมอดื้อ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬา และหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย (ลาออกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567) Source: Facebook Thiravat Hemachudha
โดย Thiravat Hemachudha 19 พฤษภาคม 2567
ยาที่ได้รับการรับรองในเรื่องความปลอดภัยและหมดสิทธิบัตร ราคาถูกเข้าถึงได้ทั่ว โดยที่ ปรากฏว่ามีสรรพคุณนอกเหนือจากที่เคยรู้กันและนำมาใช้ในบริบทที่ต่างออกไป เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ ในการเป็น repurpose drug และอีกทั้งยาพื้นบ้านสมุนไพรไทยและยาแผนตะวันออกรวมทั้งวิธีควบการรักษาอื่นๆควรต้องเปิดใจและ ศึกษาอย่างจริงจังและในที่สุดสามารถร่วมใช้ด้วยกันกับยาแผนปัจจุบันตะวันตก ตัวอย่างเช่นยาฆ่าพยาธิ ยา ไอเวอร์เมคตินตัวนี้ Satoshi ōmura และ William C. Campbell ได้รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและอายุรกรรม ในปี 2015 ในการคันพบ ว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากในการรักษา โรคพยาธิต่างๆและช่วยชีวิตคนในทวีปแอฟริกาได้มากมาย ในช่วงระยะเวลาต่อมามีการศึกษา ฤทธิ์และกลไกของยาตัวนี้ จนกระทั่งได้พบว่ายาตัวนี้มีสรรพคุณในการยับยั้งการติดเชื้อรวมกระทั่งถึงการรักษาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะที่เป็น กลุ่ม RNA อาทิเช่นไวรัสโควิด จนกระทั่งมีการนำมาใช้ใน หลายทวีป ในประเทศอินเดีย แอฟริกา แม้กระทั่ง ในญี่ปุ่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ตามได้ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงและมีการเซ็นเซอร์รวมทั้งมีการเพิกถอนใบประกอบอาชีพของแพทย์ และองค์กรกลางของสหรัฐ FDA ได้กล่าวดูถูกถากถาง แต่ในที่สุดแพ้คดีต่อศาลสูงสุดของสหรัฐ ให้ลบการประนาม ข้อความในสื่อทั้งหมด ที่ให้ร้ายยาฆ่าพยาธิดังกล่าว และแพทย์ชนะคดี เย็นวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2024 คดีในศาลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยศาลได้ตัดสินให้ FDA ของสหรัฐอเมริกาซึ่งนำโดย Robert Califf ซึ่งเป็นแพทย์โรคหัวใจ ถอดถอนคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จและทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งหมดเกี่ยวกับยา ivermectin ยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ตามมาตรฐานชุมชนในการดูแลรักษาโรคโควิด-19 โดยมีประวัติความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมและหลักฐานคุณประโยชน์ในการศึกษาไม่น้อยกว่า 101 รายการ ในช่วงปี 2021 สิ่งที่เรียกว่า"สงครามกับยาไอเวอร์เมกติน" FDA ของสหรัฐอเมริกาได้โพสต์ทวีตอันเป็นเท็จและทำให้เข้าใจผิด และการส่งข้อความสาธารณะเพื่อห้ามปรามแพทย์ เภสัชกร และผู้ป่วยจากการใช้ยา และ ส่งผลให้แพทย์ที่สั่งใช้ถูกสั่งให้ยุติ การทำงาน ถอดถอนใบอนุญาติ และนำมาสู่การฟ้องร้องซึ่ง FDA แพ้ในที่สุด ช่วงเวลาก่อนโควิด ระยะที่มีการระบาด และหลังจากที่การระบาดสงบลงมีความสนใจในกลไกของยาฆ่าพยาธิตัวนี้ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อมะเร็งหลายชนิดได้ ทั้งในด้านการระงับการเจริญเติบโต การแพร่กระจาย และยับยั้งการสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งต่างๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงผ่อนเบา สถานการณ์ดื้อยาของมะเร็งชนิดต่างๆต่อการรักษาและยาเคมีบำบัด และมีการใช้ผสมควบรวมกันทั้งนี้เพื่อควบคุมมะเร็งได้ดีขึ้น กลไกสำคัญที่มีการศึกษาไปแล้วนั้น คือความสามารถที่จะทำให้มะเร็งตายโดยกระบวนการ ที่เรียกว่า programmed cell death autophagy และ pyroptosis โดยผ่านเส้นทางของ PAK1 kinase และอื่นๆ จุดประสงค์ของการศึกษายานี้กับมะเร็งเพื่อช่วยให้เป็นยาประกอบกับยาเคมีบำบัดเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างบทความบางส่วนที่ศึกษายาตัวนี้กับมะเร็ง ชนิดต่างๆเช่น มะเร็งเต้านมโดยเฉพาะในกลุ่มที่เรียกว่า triple negative โดยทีไม่มี estrogen, progesterone receptor และ human epidermal growth factor receptors 2 (HER2) และเป็นมะเร็งที่เติบโตและลุกลามเร็วที่สุด โดยที่ไอเวอร์เมคตินทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม ในระดับเหนือพันธุกรรม (epigenetic regulator) และยังทำให้มะเร็งชนิดนี้กลับมาตอบสนองกับยาปกติ tamoxifen การศึกษาหลายรายงานยังพบว่าไอเวอร์เมคติน ช่วยทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ดีขึ้นโดยการปรับสภาวะแวดล้อมของเซลล์มะเร็ง(tumor microenvironment )จากการปล่อย high mobility group box-1 protein (HMGB1) ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางระบบเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์มะเร็ง ในส่วนมะเร็งกระเพาะอาหารพบว่าไอเวอเมคติน สามารถ ยับยั้งการ เติบโตของเซลล์ผ่าน Yes-associated protein 1 (YAP1) และกระบวนการนี้ยังใช้อธิบายผลต่อมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี และยายังช่วยมะเร็งที่ดื้อ gemcitabine ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัดสำหรับรักษา มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดเซลล์ตายในกระบวนการapoptosis จากการขัดขวาง Wnt/beta catenin pathway นอกจากนั้นยังมีผลช่วยในกรณีของมะเร็งของไต (renal cell carcinoma) โดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติทั้งนี้โดยการขัดขวางหน้าที่ของmitochondria ยายังมีส่วนช่วยมะเร็งต่อมลูกหมากโดยที่เพิ่มการออกฤทธิ์ของ ยาต้าน ฮอร์โมนแอนโดเจน enzalutamide และปรับเซลล์มะเร็งที่ดื้อ ยาdocetaxel ให้กลับมาตอบสนองใหม่ มะเร็งของเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ยาช่วยฆ่ามะเร็ง ในขนาดยาที่ไม่สูง และไม่กระทบเซลล์ปกติ ทั้งนี้โดยการเหนียวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ และมีผลส่งเสริมการออกฤทธิ์ของยา cytarabine และ daunorubicin นอกจากนั้นยังมีผลกับมะเร็งชนิดไม่เฉียบพลัน chronic myeloid leukemia และช่วยการทำงานของยา dasatinib ให้ดีขึ้น มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่ ยามีส่วนช่วยในการทำให้ยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน เนื้องอกสมอง ยามีส่วนช่วยรักษา glioblastoma ผ่านกลไกที่ทำให้เซลล์ตายและยับยั้งการสร้างเส้นเลือดมาเลี้ยงก้อนเนื้องอกและการกระจายของเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามยาไอเวเมคติน ไม่สามารถผ่านผนังกั้นหลอดเลือดกับสมองได้ดี ดังนั้น อาจเป็นข้อจำกัดในการใช้ยานี้กับเนื้องอกในสมองยกเว้นแต่ว่าต้องสามารถเปิดให้มีรูหรือช่องว่างของผนังกั้นนี้ได้อย่างพอเพียงโดยที่ไม่เกิดขึ้นอย่างถาวร มะเร็งในช่วงโพรงจมูกทางด้านหลัง มะเร็งปอด และ มะเร็งร้ายแรงของผิวหนัง melanoma ยาดังกล่าวนี้สามารถช่วยการรักษาที่เป็นมาตรฐานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ลิงค์ที่แนบแสดงถึงการรายงานประสิทธิภาพและกลไกของยา ต่อเนื้องอกมะเร็งแบบต่างๆ เช่น วารสาร Nature 2021 https://www.nature.com/articles/s41523-021-00229-5 วารสารNature 2022 https://www.nature.com/articles/s41419-022-05182-0 และวารสารอื่นๆ https://www.sciencedirect.com/.../pii/S1043661820315152 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7505114/ https://www.frontiersin.org/.../fphar.2021.717529/full https://journals.sagepub.com/.../10.1177/09603271221143693 https://www.mdpi.com/2079-9721/11/1/49 https://www.frontiersin.org/.../fphar.2022.934746/full https://ar.iiarjournals.org/content/39/9/4837 เหล่านี้เป็นตัวอย่างของยาที่มีสรรพคุณมากหลาย นอกเหนือจากที่ค้นพบตั้งแต่ต้น และน่าจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาวการณ์ของสมุนไพรกันชงและกัญชา ที่ครอบครัวของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ารักษาไม่ได้และให้ประคับประคองอย่างเดียวได้นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดทรมานนอนไม่ได้กินไม่ไหว แต่สามารถมีชีวิตอย่างเกือบปกติและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวโดยทุกคนค่อยๆยอมรับ และในที่สุด แม้ผู้ป่วยจะจากไป แต่ไม่ได้ทนทุกข์ทรมาน ทั้งนี้ผู้ป่วยเหล่านี้ต่างได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีนทั้งชนิดกิน ฉีด แต่ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ในขณะเดียวกันมีผู้ป่วยมะเร็งเป็นจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันชนิดของมะเร็งรวมกระทั่งถึงระยะลุกลามขั้นสุดท้าย เมื่อได้ยากันชงกัญชา โดยการให้ที่ถูกต้องและเหมาะสม กลับมีชีวิตยืนยาวได้มากกว่าปกติตามที่คาดคะเนจากการรักษาแบบมาตรฐาน ควรหรือไม่ที่จะเริ่มพิจารณาอย่างจริงจังที่จะนำสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งการแพทย์แผนตะวันออกเช่นแพทย์แผนจีน เข้ามาศึกษาและยกระดับความเข้าใจรวมทั้งสามารถระบุปฏิกิริยา รวมทั้งข้อห้ามใช้เมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ตัวไหนบ้างเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยและเป็นการประหยัดและทำให้ประชาชนคนป่วยเข้าถึงได้อย่างเต็มที่ หมอดื้อ Source: Facebook Thiravat Hemachudha
โดย Thaipithaksith 7 พฤษภาคม 2567
Live!! คลิปเต็ม4ชม.แฉความจริงอันตรายจากสิ่งที่ฉีดไปแล้วร้ายแรงกว่าที่คิด
โดย thaipithaksith 27 เมษายน 2567
สภากาแฟเวทีชาวบ้าน 25-04-67
โดย Thaipithaksith 11 มีนาคม 2567
ขอให้ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ชี้แจงข้อคำถามต่อไปนี้กับสังคม
โดย Thaipithaksith 8 มีนาคม 2567
เรื่อง ขอข้อมูลข่าวสารของทางราชการเกี่ยวกับมติตามหนังสือที่ พส.๐๑๑/๔๗๘๕
โดย Thaipithaksith 4 มีนาคม 2567
ขอให้ชี้แจงกับสังคมว่ายาฉีด mRNA เป็นวัคซีนหรือพันธุกรรมบำบัด (gene therapy)
โดย Thaipithaksith 3 มีนาคม 2567
ขอให้ปรับปรุงการดำเนินงานของศูนย์ต้านข่าวปลอมและแก้ไขข้อมูลเท็จที่ศูนย์ฯเผยแพร่
โพสเพิ่มเติม